หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
(อักษรย่อ) : วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Engineering (Industrial Engineering)
(อักษรย่อ) : B.Eng. (Industrial Engineering)
จุดเด่นของหลักสูตร
ปัจจุบันภาคธุรกิจด้านต่างๆ มีแนวโน้มที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนด้านของอุปสงค์ และอุปทาน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม จนทำให้การผลิต บุคลากรเฉพาะด้านที่มีองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในระดับปริญญาบัณฑิต เกิดสภาวะขาดแคลนทรัพยากรบุคคล ที่มีองค์ความรู้ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติเฉพาะด้านร่วมกัน โดยการบูรณาการการเรียนการสอน ในทุกๆ ศาสตร์เชิงการจัดการและเทคโนโลยีอุตสาหการ ที่สามารถต่อยอดได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันนั้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม มีความจำเป็นของบุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้น ทำให้สอดคล้องกับการพัฒนาของธุรกิจทุกๆ ประเภท ที่เกี่ยวเนื่องกันได้
วัตถุประสงค์การศึกษา (Program Educational Objectives, PEO)
ปัจจุบันอุตสาหกรรมในประเทศไทยถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ รวมทั้งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งและการส่งออกสินค้าที่ผลิตไปยังต่างประเทศ ดังนั้นการสร้างองค์ความรู้และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน การวิพากษ์หลักสูตรจากผู้ใช้บัณฑิต นักวิชาการในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และผู้แทนจากสภาวิศวกรได้ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังนี้
PEO 1. ประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ให้เข้ากับกระบวนงาน กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ ในการทำงานได้
PEO 2. สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม และมีคุณธรรมจริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพ
PEO 3. ทำงานทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพของตนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
PEO 4. มีความเชี่ยวชาญในตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ซับซ้อน และกำหนดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ (PLOs) เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว ตามมาตรฐานดังนี้
1. ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมและความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมเพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรม หรือนิยามและประยุกต์วิธีการ กระบวนงาน กระบวนการ หรือระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้
2. การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม
สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน จนได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
3. การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา
สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกาหนดด้านสังคม ความปลอดภัยการอนามัยและสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
4. การพิจารณาตรวจสอบ
สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
5. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย
สามารถสร้าง เลือกและประยุกต์ใช้เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและอุปกรณ์นั้น
6. การทำงานร่วมกันเป็นทีม
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้
7. การติดต่อสื่อสาร
สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวาจาด้วยการเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
8. กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม
มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
9. จรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
10. การบริหารงานวิศวกรรมและการลงทุน
มีความรู้และความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ และการบริหารงานวิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
11. การเรียนรู้ตลอดชีพ
ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ