อยากเป็นวิศวะคอมฯ ก็ต้องศึกษาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในเชิงลึกเพื่อให้พร้อมสำหรับการออกแบบ และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริงที่ PIM บัณฑิตของเราจบไปพร้อมกับทักษะและความเชี่ยวชาญที่ไม่เหมือนใครเพราะได้ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำของเมืองไทยนั่นเอง
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
(อักษรย่อ) : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Engineering (Computer Engineering)
(อักษรย่อ) : B.Eng. (Computer Engineering)
ความเป็นมาและจุดเด่นของสาขาวิชา
ปัจจุบันทุกประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ การพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งรวมถึงการเตรียมบุคลากรทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่สามารถการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และรองรับการแข่งขันทางธุรกิจคอมพิวเตอร์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการผลิตบุคลากรทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของสถาบันฯ ด้านมุ่งสู่ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัยซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจและแผนกลยุทธ์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต ประกอบด้วย
- กลุ่มวิชาภาษา 15 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 9 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 90หน่วยกิต ประกอบด้วย
- กลุ่มวิชาแกนทางวิศวกรรม 31 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 53 หน่วยกิต
– กลุ่มฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 13 หน่วยกิต
– กลุ่มเทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์ 9 หน่วยกิต
– กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 12 หน่วยกิต
– กลุ่มเทคโนโลยีเพื่องานประยุกต์ 19 หน่วยกิต
– วิชาเลือกเฉพาะสาขา 6 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
ง. หมวดวิชาสหกิจศึกษาและรายวิชาทดแทน จำนวน 9 หน่วยกิต
แผนการศึกษา
แผนการศึกษาตลอดหลักสูตร สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ปีการศึกษาที่ 1
ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
MAT1011 | คณิตศาสตร์วิศวกรรม 1 | 3(3-0-6) | MAT1012 | คณิตศาสตร์วิศวกรรม 2 | 3(3-0-6) |
PHY1011 | ฟิสิกส์วิศวกรรม | 3(3-0-6) | PHY1021 | ฟิสิกส์วิศวกรรม 2 | 3(3-0-6) |
PHY1012 | ปฏิบัติการฟิสิกส์วิศวกรรม 1 | 1(0-3-2) | PHY1022 | ปฏิบัติการฟิสิกส์วิศวกรรม 2 | 1(0-3-2) |
GE 1001 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3(2-2-5) | GE1003 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 | 3(2-2-5) |
GE1001 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3(2-2-5) | MAT2503 | สถิติพื้นฐาน | 3(3-0-6) |
GE1002 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 | 3(2-2-5) | ITE1202 | การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ | 3(2-2-5) |
GE xxxx | วิชาเลือกกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 3(3-0-6) | CPE1101 | วิศวกรรมไฟฟ้า | 3(3-0-6) |
ITE1201 | พื้นฐานการเขียนโปรแกรม | 3(2-2-5) | CPE1102 | ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้า | 1(0-3-2) |
รวม | 19 | รวม | 20 |
ความคาดหวัง เมื่อนักศึกษาเรียนจบชั้นปีที่ 1 จะมีความสามารถในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบง่าย มีความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้าและสถิติเบื้องต้น
ปีการศึกษาที่ 2
ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
MAT2011 | คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3(3-0-6) | CPE2103 | การออกแบบดิจิทัลลอจิกขั้นสูง | 3(2-2-5) |
GE1014 | ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกรรมและเทคโนโลยี | 3(2-2-5) | ITE2301 | ระบบฐานข้อมูล | 3(2-2-5) |
CPE2001 | วงจรอิเล็กทรอนิกส์ | 3(3-0-6) | ENG1001 | การเขียนแบบวิศวกรรม | 3(2-2-5) |
CPE2002 | ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ | 1(0-3-2) | CPE2104 | ไมโครโพรเซสเซอร์ | 3(2-2-5) |
CPE2101 | การออกแบบดิจิทัลลอจิก | 3(3-0-6) | ITE2401 | ระบบปฎิบัติการ | 3(3-0-6) |
CPE2102 | ปฏิบัติการออกแบบดิจิทัลลอจิก | 1(0-3-2) | GE xxxx | วิชาเลือกกลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ | 3(3-0-6) |
ITE2201 | โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึม | 3(2-2-5) | CPE2503 | โครงข่ายคอมพิวเตอร์ | 3(2-2-5) |
CPE2501 | โครงข่ายข้อมูล | 3(2-2-5) | |||
รวม | 20 | รวม | 21 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาฤดูร้อน (สำหรับสหกิจศึกษาแนวที่ 1) | ||
---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
CPE2801 | การเตรียมสหกิจศึกษา | 3(0-135-0) |
รวม | 3 |
ความคาดหวัง เมื่อนักศึกษาเรียนจบชั้นปีที่ 2 จะมีความสามารถในการอ่านและเขียนแบบวิศวกรรมด้วยโปรแกรมประยุกต์ได้ วิเคราะห์และออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลลอจิกพื้นฐาน สื่อสารสนทนาเป็นภาษาอังกฤษได้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถออกแบบฐานข้อมูล และออกแบบโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลและโครงข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นต้นได้
ปีการศึกษาที่ 3
ปี 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 3 ภาคการศึกษาที่ 2-ภาคการศึกษาฤดูร้อน (สำหรับสหกิจศึกษาแนวทางที่ 1) | ||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
CPE3001 | การสื่อสารและการประมวลสัญญาณดิจิทัล | 3(3-0-6) | CPE3801 | สหกิจศึกษา | 6(0-300-0) |
CPE3002 | การสื่อสารไร้สาย | 3(2-2-5) | |||
CPE3101 | สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ | 3(2-2-5) | |||
ITE2201 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | 3(3-0-6) | |||
ITE3601 | การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ | 3(3-0-6) | |||
GE xxxx | วิชาเลือกกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 3(3-0-6) | |||
รวม | 18 | รวม | 6 |
ปี 3 ภาคการศึกษาที่ 2 (สำหรับรายวิชาทดแทนสหกิจศึกษาแนวทางที่ 2) |
ปี 3 ภาคการศึกษาฤดูร้อน (สำหรับรายวิชาทดแทนสหกิจศึกษาแนวทางที่ 2) |
||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
xxx xxxx | รายวิชาทดแทนสหกิจ 1 | 3(x-x-x) | CPE3800 | การฝึกงานวิศวกรรม | 0(0-300-0) |
xxx xxxx | รายวิชาทดแทนสหกิจ 2 | 3(x-x-x) | |||
xxx xxxx | รายวิชาทดแทนสหกิจ 3 | 3(x-x-x) | |||
รวม | 9 | รวม | 3 |
ความคาดหวัง เมื่อนักศึกษาเรียนจบชั้นปีที่ 3 จะสามารถออกแบบระบบระบบไมโครโพรเซสเซอร์และระบบสมองกลฝังตัวได้ สามารถออกแบบดิจิตัลลอจิกเบื้องต้นด้วย CLPD และ FPGA ได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างโปรแกรมด้วยภาษาเชิงวัตถุ สร้างฐานข้อมูลและเรียกใช้ฐานข้อมูล ตลอดจนมีความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการระบบโครงข่ายไร้สาย
ปีการศึกษาที่ 4
ปี 4 ภาคการศึกษาที่ 1 | ปี 4 ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
---|---|---|---|---|---|
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต | รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
ITE3501 | ความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3(2-2-5) | CPE4702 | โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3(0-135-0) |
CPE4701 | การเตรียมโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 1(0-45-0) | GE xxxx | วิชาเลือกกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 2 | 3(3-0-6) |
CPE4xxx | วิชาเลือกสาขา 1 | 3(3-0-6) | ITE4601 | จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3(3-0-6) |
CPE4xxx | วิชาเลือกสาขา 2 | 3(3-0-6) | xx xxxx | วิชาเลือกเสรี 2 | 3(3-0-6) |
GE xxxx | วิชาเลือกกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 1 | 3(3-0-6) | |||
xx xxxx | วิชาเลือกเสรี 1 | 3(3-0-6) | |||
รวม | 16 | 12 |
ความคาดหวัง เมื่อนักศึกษาเรียนจบชั้นปีที่ 4 จะสามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างระบบคอมพิวเตอร์ได้ จะสามารถกำหนดวิธีการสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจริยธรรมทางวิชาชีพ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้างระบบงานประยุกต์อย่างสร้างสรรค์ได้
โอกาสในการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร บัณฑิตสาขาวิชานี้มีโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานในตำแหน่งต่างๆ ประกอบด้วย
- วิศวกรคอมพิวเตอร์
- นักวิชาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
- นักโปรแกรม
- ผู้ดูแลระบบโครงข่าย
- ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
- นักพัฒนาเว็บไซต์