
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)
ในยุคที่โลกออนไลน์ขับเคลื่อนทุกสิ่ง ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด! หลักสูตรของเราพร้อมพาคุณก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างมั่นใจ ด้วยการเรียนรู้จาก ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่ พื้นฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การตรวจจับภัยคุกคาม การป้องกันการโจมตีทางดิจิทัล และการวิเคราะห์ความปลอดภัยของระบบ – รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ หมั่นสกุล
ประวัติความเป็นมา
ตามที่พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 มาตรา 69 ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาได้ โดยให้ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามาตรฐานการอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขข้อจำกัดในการพัฒนาและยกระดับกำลังคนด้านอุดมศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนเพื่อให้การผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ประกอบกับการได้รับการเห็นชอบจากสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
แนวคิดการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอดุมศึกษา หรือ HIGHER EDUCATION SANDBOX เกิดจากความตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยให้ทันกับบริบทโลกที่เปลี่ยนไป นับเป็นแนวทางสำคัญที่เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาก้าวข้ามข้อจำกัดในการจัดการศึกษาสามารถออกแบบและจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นนวัตกรรมอุดมศึกษาได้ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา
ดังนั้น การเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (โดยสมาคมสภาคณนบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรทำหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศอย่างเร่งด่วน ที่เน้นเรื่องการสร้างศักยภาพในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ รวมถึงได้รับการวิพากษ์หลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และบริษัทสถานประกอบการผู้ใช้บัณฑิต

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Cybersecurity
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : วิทยาศาสตรบัณฑิต(สาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์)
(อักษรย่อ) : วท.บ. (สาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) :BACHELOR OF SCIENCE (CYBERSECURITY)
(อักษรย่อ) : B.SC (CYBERSECURITY)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1 สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในภาพรวม และประยุกต์ใช้หลักการความปลอดภัยไซเบอร์ในการออกแบบและวิธีการแก้ไขปัญหา
PLO2 สามารถประยุกต์ใช้หลักการและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อสามารถดำเนินงานที่มีความเสี่ยงและภัยคุกคาม
PLO3 สามารถสื่อสารในบริบทของผู้เชี่ยวชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO4 มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบทางวิชาชีพ และการตัดสินใจในแนวทางปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายและจริยธรรม
PLO5 สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในหน่วยงานเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 51 หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ขอยกเว้น)
2) หมวดวิชาเฉพาะ 45 หน่วยกิต
2.1) กลุ่มวิชาแกน 12 หน่วยกิต
2.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ 15 หน่วยกิต
2.3) กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะความปลอดภัยไซเบอร์ 12 หน่วยกิต
2.3.1) กลุ่มวิชาเลือกด้าน HUMAN, ORGANISATIONAL & REGULATORY ASPECTS
2.3.2) กลุ่มวิชาเลือกด้าน ATTACKS & DEFENCES
2.3.3) กลุ่มวิชาเลือกด้าน SYSTEMS SECURITY
2.3.4) กลุ่มวิชาเลือกด้าน SOFTWARE AND PLATFORM SECURITY
2.3.5) กลุ่มวิชาเลือกด้าน INFRASTRUCTURE SECURITY
2.4) กลุ่มวิชา การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ 6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน
ㆍ Foundation of Computing and Cybersecurity
ㆍ Advance Network Fundamentals
ㆍ Hardware/Software Support
ㆍ Secure Coding
กลุ่มวิชาเลือกเสรี
ㆍ Linux Scripting
ㆍComputational Thinking
ㆍSecure System Archicture
ㆍ Perimeter Defense
ㆍ Penetration Testing
ㆍ Artificial Intelligence for Cybersecurity
ㆍ Embedded Computer System for Cybersecurity
ㆍCyber Warfare
ㆍ Special Topics in Cybersecurity
กลุ่มวิชาเฉพาะด้านความปลอดภัยไซเบอร์
ㆍ Risk Management & Governance
ㆍ Law & Regulation
ㆍ Malware & Attack Technologies
ㆍ Security Operations & Incident Management
ㆍ Network Security
กลุ่มวิชาการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
ㆍ Special Project
ㆍ Practical Training
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้านความปลอดภัยไซเบอร์
ㆍ Human Factors
ㆍ Privacy & Online Rights
ㆍ Adversarial Behaviours
ㆍForensics
ㆍCryptography
ㆍ Operating Systems & Virtualisation Security
ㆍ Distributed Systems Security
ㆍ Formal Methods for Security
ㆍ Authentication, Authorisation & Accountability
ㆍ Software Security
ㆍ Web & Mobile Security
ㆍ Secure Software Lifecycle
ㆍ Applied Cryptography
ㆍ Hardware Security
ㆍ Cyber Physical Systems
ㆍ Physical Layer and Telecommunications Security
ㆍ Cloud Security
คุณสมบัติของผู้สมัคร
ㆍเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ㆍเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่า
ㆍ เป็นผู้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีไม่ต่ำกว่าระดับชั้นปีที่ 3
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ㆍ วันเสาร์ และ/หรือวันอาทิตย์ (เวลา 8.00-18.30 น.)
ㆍ เรียนออนไลน์ 100%
แผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
1361301 | พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ | 3 |
1361302 | เครือข่ายพื้นฐานขั้นสูง | 3 |
1361303 | การสนับสนุนด้านฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ | 3 |
1361304 | การเขียนโค้ดให้มีความปลอดภัย | 3 |
1362301 | การบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแล | 3 |
รวม | 15 |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
1362302 | กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | 3 |
1362303 | มัลแวร์และเทคโนโลยีการโจมตี | 3 |
1362304 | ปฏิบัติการความมันคงปลอดภัยและการจัดการเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ | 3 |
1362305 | ความมั่นคงปลอดภัยเครือข่าย | 3 |
13634xx | วิชาเลือกเฉพาะด้าน | 3 |
รวม | 15 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
13634xx | วิชาเลือกเฉพาะด้าน | 3 |
13634xx | วิชาเลือกเฉพาะด้าน | 3 |
13634xx | วิชาเลือกเฉพาะด้าน | 3 |
13653xx | วิชาเลือกเสรี | 3 |
13653xx | วิชาเลือกเสรี | 3 |
รวม | 15 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
136345x | วิชาโครงงานพิเศษ/ฝึกงาน | 6 |
รวม | 6 |
อัตราค่าเล่าเรียน
อัตราค่าเล่าเรียน แบบเหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567
อัตราค่าเล่าเรียนสูงสุดต่อภาคการศึกษา 37,500 บาท
อัตราค่าเล่าเรียนสูงสุดตลอดหลักสูตร 150,000 บาท
(กรณีนักศึกษาเรียนตามแผนการศึกษาที่หลักสูตรกำหนด)
อัตราการจัดเก็บค่าเล่าเรียน แบบเหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ หมั่นสกุล
อาจารย์ประจำวิชา สาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ปริญญาตรี หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เบอร์โทร/อีเมล
02-855-0336/083 077 7927/annopmon@pim.ac.th
ประสบการณ์ทำงาน
- หัวหน้าสาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน
- อาจารย์ประจำ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ (วิทยาเขตอีอีซี) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
- ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2564
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
- อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
- อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
- ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยตาปี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยตาปี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
- กรรมการและเลขานุการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยตาปี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
- อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยตาปี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551
- Network Engineer (Telecom, Systems Integrator and Technology OEM Partners) บริษัท NCR (Thailand) Ltd. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 เมษายน พ.ศ. 2550
- Senior Engineer (ATM/CDM machines, Retail and Restaurant Point of Sale and Airport Self-Service Kiosks) บริษัท NCR (Thailand) Ltd. เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
- Customer Service Engineer (ATM/CDM machines) บริษัท NCR (Thailand) Ltd. เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 – 11 มกราคม พ.ศ. 2545
ผลงานทางวิชาการ/งานวิจัย
สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร :
- อนุสิทธบัตร ชื่อ “หุ่นไล่กาอัจฉริยะ 4.0” เลขที่ 2003001056 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563
ทุนวิจัย :
- โครงการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมในบ้านนกแอ่นกินรังแบบแม่นยำสูง (Analysis and Design of Precision Edible–nest Swiftlet Farming Control System) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2564 รวม 12 เดือน (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 248,233 บาท)
- โครงการวิจัย เรื่อง การหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทําฟาร์มนกแอ่นกินรัง (巣を取る燕の養殖場の最適条件を見出す研究) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเดือนเมษายน 2562 ถึง เดือนเมษายน 2563 รวม 12 เดือน (ได้รับทุนสนับสนุนจากTakahashi Industrial And Economic Research Foundation ประจำปีงบประมาณ 2562 จำนวน 150,000 บาท)
- โครงการวิจัย เรื่อง การสื่อสารด้วยเทคโนโลยี LoRa ภายในเครือข่ายไร้สายเฉพาะกิจสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ (Static Ad-Hoc Network for Smart Farming Using LoRa Communication) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2562 รวม 12 เดือน (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 165,000 บาท)
- โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาระบบฟาร์มอัจริยะสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้าม (赤爪ザリガニ養殖のためのスマートファームシステムに関する研究) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย เดือนเมษายน 2560 ถึง เดือนเมษายน 2561 รวม 12 เดือน (ได้รับทุนสนับสนุนจากTakahashi Industrial And Economic Research Foundation ประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวน 148,042.95 บาท)
- โครงการวิจัยเรื่อง การออกแบบเกณฑ์วิธีเพื่อจัดเส้นทางด้วยอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่ 6 สำหรับการสื่อสารแบบยูนิคาสต์, มัลติคาสต์ และแอนนีคาสต์ ของเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย (A Design Routing Algorithm for Unicast, Multicast and Anycast Communication in IPv6 of Wireless Sensor Networks) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเดือนมีนาคม 2559 ถึง เดือนมีนาคม 2560 รวม 12 เดือน (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประจำปีงบประมาณ 2559 จำนวน 139,342.57 บาท)
ตำรา :
- อรรณพ หมั่นสกุล “ระบบการสื่อสารและเครือข่าย 1” ISBN: 978-616-780-511-5 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2559 (โครงการพัฒนาสื่อการสอนหรือการเรียบเรียงตำรา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น)
หนังสือ :
- Ferdin Joe John Joseph, Sarayut Nonsiri and Annop Monsakul “Keras and TensorFlow – A Hands on Experience,” Advanced Deep Learning for Engineers and Scientists: A Practical Approach, Springer Nature, Switzerland, December, 2020. eBook, ISBN 978-3-030-66519-7 Website, https://www.springer.com/gp/book/9783030665180
เอกสารคำสอน :
- อรรณพ หมั่นสกุล “MIT-631 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์” หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2559
วารสารวิชาการ :
- ศุภโชค เกียรติกิติกูล, ชรัตน์ ขำแสง และอรรณพ หมั่นสกุล. ระบบความปลอดภัยบ้านอัจฉริยะด้วยอินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง สำหรับอินเทอร์เน็ตยุคหน้าที่รองรับอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่หก. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น : วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 24-29 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2561, กรุงเทพ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. Database: Thai-Journal Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1
- Annop Monsakul, “SRAD: Smart Routing Algorithm Design for Supporting IoT Network Architecture,” International Journal of Communication Networks and Information Security (IJCNIS), pp. 91-98, Vol. 10, No. 1, April 2018. Database: SCOPUS H-Index=15 / SJR=0.23
- Annop Monsakul, “D-MENTOR Algorithm for OSPF Protocol under Delay Constrain Supporting Unicast and Multicast Traffic,” IEICE Transactions on Communications, Vol. E99-B, No.6, pp.1275-1281., June 1, Database: ISI impact factor=0.23, SCOPUS H-Index=44 / SJR=0.18
- อรรณพ หมั่นสกุล. ประสิทธิภาพของอัลกอริธึม MENTOR-II สำหรับการออกแบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลภายในโครงข่ายแกนหลักของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 62-69 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2558, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. Database: Thai-Journal Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1
- Pisit Charnkeitkong, Annop Monsakul, Adisorn Kheaksong and Kiattisak Maichalernnukul, “A Modified MENTOR II for Mesh IP Network Design with Link Delay Constraint,” Journal of Convergence Information Technology (JCIT)., vol.9, no 2, pp. 167-180, March 31, 2014. Database: SCOPUS H-Index=21 / SJR=0.12
- Annop Monsakul, “Traffic Characteristics Analysis and Comparison of Streaming Media Systems on IEEE 802.11n,” Journal of Convergence Information Technology (JCIT)., vol.8 no.7, pp. 39-46., April 15, 2013. Database: SCOPUS H-Index=21 / SJR=0.12
- Annop Monsakul and Pisit Charnkeitkong, “M-MENTOR: a design algorithm for IP networks with mixed traffic,” WSEAS Transactions on Communications., vol.8, issue 10, pp. 1086-1095, October 2009. Database: SCOPUS H-Index=12 / SJR=0.12
ประชุมวิชาการ :
- Vechprasit, A. Monsakul and P. Boonsieng, “Performance Analysis of Image Classification between Edge and Cloud Computing,” 2024 International Symposium on Parallel Computing and Distributed Systems (PCDS), Singapore, Singapore, 2024, pp. 1-8, doi: 10.1109/PCDS61776.2024.10743722.
- รักษ์ชาติ เกตุบุญลือ, อรรณพ หมั่นสกุล และประมุข บุญเสี่ยง “การประเมินประสิทธิภาพระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับฟาร์มนกแอ่นกินรัง,” การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 16 (NCIT2024), 14-15 พฤศจิกายน 2567, มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
- Sungsiri, S. Nonsiri and A. Monsakul, “The Classification of Edible-nest Swiftlets Using Deep Learning,” 2022 6th International Conference on Information Technology (InCIT), Nonthaburi, Thailand, 2022, pp. 404-409, doi: 10.1109/InCIT56086.2022.10067665.
- กันต์ธีร์ เจริญเศรษศิลป์, ศรายุทธ นนท์ศิริ และอรรณพ หมั่นสกุล, “การออกแบบกรอบแนวคิดสำหรับระบบประมูลรังนกแอ่นกินรังด้วยบล็อคเชน,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8 (TNIAC 2022)., หน้า 279-284, วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- บุรินทร์ วิราณุรักษ์, ศรายุทธ นนท์ศิริ และอรรณพ หมั่นสกุล, “การออกแบบเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8 (TNIAC 2022)., หน้า 171-176, วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- เอมี่ สูงสิริ, ศรายุทธ นนท์ศิริ, ศุภาวีร์ มากดี และอรรณพ หมั่นสกุล, “การจำแนกสายพันธุ์อะโวคาโดด้วยการเรียนรู้เชิงลึก,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 8 (TNIAC 2022)., หน้า 22-28, วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2565 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- ชวิศ ภูริพัฒน์, อรรณพ หมั่นสกุล, พิกุล เวชชานุเคราะห์ และ รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์, “ประสิทธิภาพของระบบตรวจจับวัตถุเคลื่อนที่ กรณีศึกษา ฟาร์มนกแอ่นกินรัง,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 (TNIAC 2021)., หน้า 408-413, วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2564 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- สุวัฒนชัย สัมมะกุล, ปราณิสา อิศรเสนา และ อรรณพ หมั่นสกุล, “กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบระดมทุนสาหรับการรับบริจาคในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน,” การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน., วันที่ 2-3 ธันวาคม 2563 ณ จังหวัดนครปฐม
- Sirikan Chaigul, Napaphat Vichaidis and Annop Monsakul, “A Blockchain-Based Healthcare Information System,” การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน., วันที่ 2-3 ธันวาคม 2563 ณ จังหวัดนครปฐม
- อรรณพ หมั่นสกุล, ปราณิสา อิศรเสนา และณปภัช วิชัยดิษฐ์ “การออกแบบระบบควบคุมสภาพแวดล้อมฟาร์มนกแอ่นกินรังแม่นยำสูง,” การประชุมวิชาการระดับชาติทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2 (NCIT2020)., หน้า 105-110, วันที่ 21-22 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมเดอะไทม์รีสอร์ท ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
- อรรณพ หมั่นสกุล, “ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมสำหรับฟาร์มแม่นยำสูง ด้วยลอร่าส่วนบุคคล,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 (TNIAC 2020)., หน้า 81-86, วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- Suppachok Kiatikitikul and Annop Monsakul, “A Performance Study in NB-IoT networks through the IoT Platforms in Thailand,” The 4th RSU National and International Research Conference on Science and Technology, Social Science, and Humanities 2019 (RSUSSH 2019)., April 26, 2019, Pathum-Thani, Thailand.408-415.
- Annop Monsakul, “A Smart Farming of Red Claw Crayfish for Small and Medium Enterprise (SMEs),” 2018 3rd International Conference on Information and Network Technologies (ICINT 2018)., May 24-26, 2018, Osaka, Japan. pp.24-27
- Annop Monsakul, “An Algorithm Network Design on Core Network for Supporting Multi-Service Edge,” 28th International Conference Radioelektronika 2018., April 19 -20, 2018, Prague, Czech Republic.
- Annop Monsakul, “Traffic Flows Performance on Packet-Switched Backbone IP Networks,” 2017 UKSim-AMSS 19th International Conference on Modelling & Simulation (UKSim2017)., pp. 215-220, 5-7 April 2017, Cambridge, United Kingdom.
- Annop Monsakul, “M-RPL: A Design Algorithm for WSNs with Mixed Traffic,” 2016 2nd International Conference on Information Management (ICIM2016)., pp. 139-142, 7-8 May 2016, London, United Kingdom.
- Annop Monsakul, “Design A Heuristic Algorithm Module for DElite Network Design and Simulation Tool,” IEICE Information and Communication Technology Forum 2015., Session 5-5, pp. 64-70, 3-5 June 2015, Manchester, United Kingdom.
- อรรณพ หมั่นสกุล, “ประสิทธิภาพของ Ubuntu Server Router สำหรับ Fully Automatic Tunnel,” การประชุมสหวิทยาการด้านการศึกษาและวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 (TNI AC 2015)., หน้า 63-68, วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร
- Annop Monsakul and Pongput Sripiroth, “A Study Algorithm Travelling Planning of Finding Shortest Path,” ITC-CSCC 2014: The 29th International Technical Conference on Circuits/Systems, Computing and Communications., 1-4 July 2014, Phuket, Thailand.
- อรรณพ หมั่นสกุล และชินรัตน์ สอนทอง, “ประสิทธิภาพของอัลกอริธึมในการออกแบบการจัดเส้นทางการไหลข้อมูลภายในโครงข่ายแกนหลักของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต,” ประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง สหวิทยาการ : ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน., วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
- อรรณพ หมั่นสกุล และปัทมา ช่วยพิทักษ์, “การปรับปรุงการแจ้งเตือนด้วย SMS ของระบบตรวจสอบสถานะของเครือข่ายและบริการ,” ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 29 (NGRC29)., หน้า 101-107, วันที่ 24-25 ตุลาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
- Annop Monsakul, “Research on IEEE 802.11n Wireless LANs of Multicast Traffic Characteristics Analysis for Supporting Video Streaming,” ICCCT: 2012 International Conference on Computing and Convergence Technology., pp. 41-44, 3-5 December 2012, Seoul, South of Korea.
- Annop Monsakul, Pisit Charnkeitkong and Sanon Chimmanee, “A study in multicast traffic characteristic analysis on the intra-domain network,” 2011 IEEE/SICE International Symposium on System Integration (SII2011)., pp. 1155-1158, 20-22 December 2011, Kyoto, Japan.
- อรรณพ หมั่นสกุล, “การออกแบบการเพิ่มออฟชั่นใหม่ภายในโพรโตคอล ICMP ที่ใช้สำหรับ Mobile IPv6,” การประชุมตาปีวิชาการ ปี 2554., หน้า 7-17, 15 กุมภาพันธ์ 2554, วิทยาลัยตาปี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- Annop Monsakul, “Performance Analysis of Traffic Control MIPv6 on Linux Base,” International Conference on Computer Engineering and Technology (ICCET 2010)., vol.7, pp. 37-41, 16-18 April 2010, Chengdu, China.
- Annop Monsakul, Pisit Charnkeitkong, Sanon Chimmanee and Panida Sampranpiboon, “An IP Network Design Algorithm for Mixed traffic,” Applied Computing Conference 2009 (ACC’09)., vol.1, pp. 270-275, 28-30 September 2009, Vouliagmeni, Athens, Greece.
- อรรณพ หมั่นสกุล, “สมรรถนะของวิศวกรรมการไหลข้อมูลบนเครือข่าย IP ที่มีการจราจรของข้อมูลแบบผสมระหว่างแบบยูนิคาสต์และมัลติคาสต์,” การประชุมวิชาการ The 6th International Joint Conference on Computer Science and Software Engineering (JCSSE2009)., 13-15 May 2009, หน้า 121-126, Laguna Resorts & Hotels, Phuket, Thailand.
- อรรณพ หมั่นสกุล, “การพัฒนาระบบควบคุมการเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สาย,” การประชุมวิชาการของเครือข่ายการวิจัย สถาบันอุดมศึกษา ปี 2552., หน้า 202-211, 2-4 เมษายน 2552, โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ หมั่นสกุล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
เบอร์โทร : 083-077-7927
อีเมล : annopmon@pim.ac.th
,annopmonsakul@gmail.com
กรอกข้อมูลสมัครเรียนที่นี่เลย : https://forms.gle/fRjRtajcSbv7vfn89